บุคคลในข้อใดเป็นบิดาทางเศรษฐศาสตร์มหภาค
- จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์
- คาร์ล มาร์ก
- อดัม สมิท
- เดวิด ริคาร์โด
ปัญหาขั้นมูลฐานทางเศรษฐศาสตร์มหภาค คืออะไร
- ปัญหาจะผลิตสินค้าอะไร ผลิตอย่างไร ผลิตเพื่อใครและแจกจ่ายอย่างไร
- ปัญหาการว่างงาน
- ปัญหาดุลการค้า
- ปัญหาหนี้สินของประชากรทั้งประเทศ
เหตุการณ์ใดต่อไปนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค
- การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
- ราคาข้าวตกต่ำ
- น้ำมันขึ้นราคา
- หนี้สินเกษตรกร
เป้าหมายของการศึกษาเศรษฐศาสตร์มหภาคคืออะไร
- เพื่อวัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
- เพื่อความอยู่รอดของรัฐบาล
- เพื่อแข่งขันทางการค้ากับต่างประเทศ
- เพื่อกำไรสูงสุดของหน่วยธุรกิจ
เหตุการณ์ใดเป็นเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค
- การขาดดุลทางการค้า
- หนี้ของเกษตรกร
- ราคาข้าวตกต่ำ
- น้ำมันขึ้นราคา
ข้อใดเป็นการคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านรายได้
- รายได้จากการเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
- รายได้จากการขายผลผลิต
- รายได้สุทธิจากต่างประเทศ
- รายได้จากการจัดเก็บภาษี
มีผู้กล่าวว่า “ราคาสินค้าแพง” ในทางเศรษฐศาสตร์มหภาคพิจารณาจากอะไร
- ดัชนีราคาผู้บริโภค
- การเดินขบวนประท้วงรัฐบาลให้ควบคุมราคาสินค้า
- การเรียกร้องขึ้นค่าแรงของกรรมกร
- วัตถุดิบจากต่างประเทศ
การส่งเสริมให้ประชาชนในประเทศมีการบริโภคเพิ่มขึ้นจะมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจอย่างไร
- ทำให้รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น
- ทำให้ประชาชนยากจนลง
- ทำให้รัฐบาลเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น
- ทำให้ประเทศขาดดุลการค้า
ข้อใดไม่ใช่รายได้ที่เกิดจากการเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
- ดวงดีได้กำไรจากการรับซื้อหวยใต้ดิน
- ปรีดารับจ้างสำราญขายก๋วยเตี๋ยวหลอด
- มานะมีเงินส่งลูกเรียนจากการเก็บค่าเช่าที่ครอบครัวสมศรีใช้ทำนา
- มานีเลี้ยงชีพตนเองได้จากดอกเบี้ยที่ได้บัญชีฝากประจำจากธนาคาร
ข้อใดต่อไปนี้ ไม่อยู่ในขอบข่ายของการคลังภาครัฐ
- การประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคาร
- การก่อหนี้สาธารณะ
- การเปลี่ยนแปลงระบบภาษีใหม่
- การจัดทำงบประมาณแผ่นดิน
รัฐบาลจัดทำงบประมาณแบบเกินดุลหมายความว่าอย่างไร
- รัฐบาลมีรายได้มากกว่าการใช้จ่าย
- รัฐบาลวางแผนการใช้จ่ายมากกว่ารายได้
- มูลค่าการนำเข้าสูงกว่ามูลค่าการส่งออก
- ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล
หนี้สาธารณะมักเกิดในกรณีใด
- งบประมาณขาดดุล
- งบประมาณเกินดุล
- งบประมาณสมดุล
- ดุลการชำระเงินเกินดุล
มาตรการใด ไม่ใช่ นโยบายการคลัง
- เพิ่มอัตราดอกเบี้ยธนาคาร
- ลดภาษีมูลค่าเพิ่ม
- กู้เงินต่างประเทศ
- ใช้งบประมาณแบบสมดุล
ถ้ารัฐบาลต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจต้องทำอย่างไร
- ลดภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ควบคุมราคาสินค้า
- ลดการใช้จ่ายภาครัฐ
- ใช้หนี้สาธารณะ
จากทฤษฎีของเคนส์ จุดตัดของเส้นความต้องการถือเงินกับเส้นปริมาณเงินเกิดขึ้นเมื่อใด
- ระดับอัตราดอกเบี้ยดุลยภาพ
- ระดับปริมาณเงินดุลยภาพ
- ระดับราคาสินค้าดุลภาพ
- ระดับรายได้ดุลยภาพ
จากทฤษฎีของเคนส์ อุปทานของเงินเท่ากับอุปสงค์ของการถือเงินเกิดขึ้นเมื่อใด
- ระดับอัตราดอกเบี้ยดุลยภาพ
- ระดับปริมาณเงินดุลยภาพ
- ระดับราคาสินค้าดุลภาพ
- ระดับรายได้ดุลยภาพ
ถ้าประเทศ ก. มีรายได้ประชาชาติสูงกว่าประเทศ ข. หมายความว่าอย่างไร
- ประเทศ ก. มีรายได้เฉลี่ยสูงกว่าประเทศ ข.
- ประเทศ ก. ผลิตสินค้าและบริการได้มากกว่าประเทศ ข.
- ประเทศ ก. มีความเป็นอยู่ดีกว่าประเทศ ข.
- ประเทศ ก. มีทรัพยากรมากกว่าประเทศ ข
ข้อใดไม่นับรวมอยู่ในผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเบื้องต้นเบื้องต้น
- ชะปุยไปค้าแข้งกับสโมสรแมนซิตี้ประเทศอังกฤษ
- สตรีฟ เดวิด ชาวอังกฤษมาสร้างโรงงานผลิตไวน์ในจังหวัดนครปฐม
- สายสมรรับจ้างทำความสะอาดในสำนักงานของนางเหอฟุ่ยที่พัทยา
- นงเยาว์รับเหมาก่อสร้างคอนโดมิเนียมที่เชียงใหม่
รายการใดต่อไปนี้นับรวมใน GDP
- สายัณห์ซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัย
- อมรศักดิ์ลงทุนสร้างโรงงานในต่างประเทศ
- สมฤดีได้เงินมาด้วยความเสน่หา
- ราตรีบริจาคเงินเพื่อการกุศล
ข้อใดไม่นำมาคิดในการคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านรายได้
- รายได้สุทธิจากต่างประเทศ
- ค่าเช่า
- ค่าจ้าง
- ดอกเบี้ย
ข้อใดหมายถึง สินค้าและบริการขั้นสุดท้าย
- สินค้าที่ผู้ซื้อนำไปบริโภค
- สินค้าที่ทำเสร็จแล้วนำไปขาย
- สินค้าที่รัฐบาลลดหย่อนภาษีให้
- สินค้าที่ผู้ซื้อนำไปผลิตเป็นสินค้าอื่น
ข้อใดหมายถึงสินค้าที่ซื้อไปใช้ในการผลิต
- สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม
- สินค้าด้านการเกษตร
- สินค้าขั้นสุดท้าย
- สินค้าขั้นกลาง
ข้อใดคือ Gross Nation Product
- ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น
- ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น
- ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิ
- ผลิตภัณฑ์สุทธิจากต่างประเทศ
รายการใดที่รวมอยู่ในรายได้ประชาชาติ
- คนใช้ที่ทำงานอยู่ตามบ้าน
- การส่งออกโดยกองทัพมด
- เงินที่ทำบุญสังฆทาน
- การแลกเปลี่ยนสินค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน
สินค้าและบริการขั้นสุดท้ายเท่ากับข้อใด
- ผลรวมมูลค่าเพิ่ม
- การบริโภค
- ผลรวมราคาสินค้า
- การลงทุน
สินค้าคงเหลือ (Inventory)นับรวมอยู่ในข้อใด
- การลงทุน
- การบริโภค
- การส่งออก
- การนำเข้า
ตัวเลขจากข้อใดสามารถวัดการกินดีอยู่ดีของคนในชาติได้ดีที่สุด
- GNP
- GDP
- NNP
- NDP
ข้อใดเป็นการคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านมูลค่าผลผลิต
- ราคา x ปริมาณการผลิต
- ค่าเช่า + ค่าจ้าง + ดอกเบี้ย + กำไร
- C + I + G + (X-M)
- การส่งออกสินค้ารวมกับการนำเข้าสินค้า
รายการใดที่นับรวมใน GDP
- ค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุน
- การบริจาคเพื่อการกุศล
- บำนาญ
- บริการของแม่บ้าน
การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านรายจ่ายคือข้อใด
- Y= C+I+G+(x-m)
- ค่าจ้าง+ค่าเช่า+ดอกเบี้ย+กำไร
- สินค้าและบริการขั้นสุดท้าย
- ผลรวมมูลค่าเพิ่ม
ข้อใดที่ไม่นับรวมกับการคำนวณรายได้ประชาชาติ
- บริการของแม่บ้าน
- ค่าจ้าง
- กำไร
- ค่าเช่า
ข้อใดไม่ใช่รายจ่ายเพื่อการลงทุน
- การสร้างศาลาการเปรียญ
- การเพิ่มในสินค้าคงเหลือ
- การสร้างอาคารโรงงาน
- การสร้างบ้านที่อยู่อาศัย
GNP จะมีค่าน้อยกว่า GDP ในกรณีใด
- รายได้สุทธิจากต่างประเทศเป็นลบ
- ได้เปรียบดุลการค้า
- ดุลการชำระเงินเกินดุล
- งบประมาณรัฐบาลเกินดุล
GNP จะมีค่าเท่า GDP ในกรณีใด
- รายได้สุทธิจากต่างประเทศเท่ากับศูนย์
- ค่าเสื่อมราคาเท่ากับศูนย์
- การลงทุนสมดุล
- ดุลการค้าสมดุล
ข้อใดคือรายได้ประชาชาติสุทธิ(NNP)
- GNP – ค่าเสื่อม
- GDP – ค่าเสื่อม
- NI – ค่าเสื่อม
- PI - ค่าเสื่อม
ข้อใดคือรายได้ประชาชาติ (NI)
- NNP – ภาษีทางอ้อม
- GDP – ภาษีทางอ้อม
- GNP – ภาษีทางอ้อม
- PI - ภาษีทางอ้อม
ข้อใดหมายถึงรายจ่ายเพื่อการบริโภคของหน่วยครัวเรือน
- Consumption
- Investment
- Government
- Export – Import
GDP + รายได้สุทธิจากต่างประเทศ จะเท่ากับข้อใด
- GNP
- NNP
- NI
- DI
GNP = GDP + F ข้อใดคือความหมายของ F
- รายได้สุทธิจากต่างประเทศ
- รายได้จากการส่งออกสินค้า
- รายได้สุทธิภายในประเทศ
- รายได้จากการนำเข้าสินค้า
ข้อใดคือเงินออมภาคครัวเรือน
- DI – Consumption
- GDP – Indirect Tax
- GNP – direct Tax
- PI – Consumption